ความแตกต่างกันระหว่าง SSD (Solid State Drive) และ HDD (Harddisk Drive) โดยทั้ง 2 อาจจะมีลักษณะคล้ายรูปร่าง หน้าตา คล้ายคลึงกัน (ไม่รวม SSD ในรูปแบบ M.2) แต่การจัดเก็บข้อมูลของทั้งคู่แตกต่างกันสิ้นเชิง ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียของไดรฟ์แต่ละประเภทและการตัดสินใจให้เหมาะสม รวมถึงวิธีการใช้งานคอมพิวเตอร์ของคุณ เราจะแสดงให้คุณเห็นว่าไดร์ฟเก็บข้อมูลแต่ละประเภททํางานอย่างไร และเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของคุณอย่างไร

Harddisk Drive

เทคโนโลยีของ Harddisk Drive นั้น ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 50 ปี ทั้งในเรื่องของความจุของการเก็บข้อมูลและขนาดของอุปกรณ์ Harddisk Drive นั้นจะพึ่งพาการหมุนของแผ่นดิสก์ภายในเพื่อทำการอ่านและเขียนข้อมูลลงไปบนแผ่นดิสก์ โดยความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลจะขึ้นอยู่กับความเร็วรอบในการหมุนของฮาร์ดดิสไดร์ฟ



วิธีการทํางานของ Harddisk Drive

ภายใน Harddisk Drive นั้นจะประกอบไปด้วย Platter หรือ จานแม่เหล็กบันทึกข้อมูล โดย Harddisk Drive ที่มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลสูง ๆ จะถูกบรรจุ Platter ที่มีขนาด 3.5 นิ้ว ไว้ข้างในหลายแผ่น เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล โดยตัว Platter จะอาศัยมอเตอร์เพื่อหมุนให้จานแม่เหล็กนี้ผ่านหัวอ่าน/เขียนข้อมูล อีกต่อหนึ่ง โดยมอเตอร์ที่หมุนจานแม่เหล็กนี้จะมีความเร็วที่แตกต่างกันไปตั้งแต่ 5,400 รอบ ต่อวินาที ไปจนถึง 15,000 รอบ ต่อวินาที

ข้อดี

ข้อดีของ Harddisk Drive เหตุผลหลักคือเรื่องของราคาที่ถูกกว่าหากเทียบกับประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูล และไม่มีข้อจำกัดในการอ่าน/เขียนข้อมูลซ้ำ และหากเกิดความเสียหายของข้อมูล ยังสามารถกู้ข้อมูลเหล่านั้นกลับมาได้

ข้อเสีย

ข้อเสียของ Harddisk Drive จะมีในเรื่องของความเร็วในการอ่าน/เขียนข้อมูล เนื่องจากการทำงานของ Harddisk Drive จะเป็นแบบ Physical ทำให้ต้องใช้เวลาในการค้นหาและจัดเรียงข้อมูลซึ่งจะต้องอาศัยรอบหมุนของแผ่น Platter ในการอ่าน/เขียนข้อมูล Harddisk Drive มีเสียงในการทำงานในระดับนึงหากเลือก Harddisk Drive ที่มีรอบการทำงานสูงและต้องใช้ไฟเลี้ยงจากอุปกรณ์พอสมควรในการทำงาน

Solid State Drive

SSD ใช้หน่วยความจำแบบ Flash Memory Chips ซึ่งมีลักษณะการทำงานคล้ายคลึงกับ Flash Drive/Thumb Drive แต่เร็วกว่า เสถียรกว่าและประสิทธิภาพและความทนทานที่เหนือกว่า เนื่องจากไม่มีชิ้นส่วนขนาดเล็กที่เคลื่อนที่อยู่ภายในเหมือนกับ Harddisk Drive ทำให้ SSD มีความทนทานมากกว่าและใช้พลังงานน้อยกว่า

วิธีการทํางานของ Solid State Drive

SSD นั้นไม่มีส่วนที่เคลื่อนไหวเหมือนกับ Harddisk Drive แต่จะเป็นการเขียนข้อมูลลงบน Flash Memory โดยการทำงานของ Flash Memory คือเมื่อมีการอ่านหรือ เขียนข้อมูล ก็จะยังจดจำข้อมูลที่มีการ Update ครั้งล่าสุดไว้ โดยที่ Flash Memory เมื่อเราทำการเขียนข้อมูลลงไปที่ Flash Memory แล้วข้อมูลเหล่านั้นไม่ได้สูญหายไปไหนยังคงเก็บเอาไว้ แต่เหมือนต้นฉบับทุกประการ ซึ่งจะแตกต่างกับ RAM (Random Access Memory) ซึ่งข้อมูลจะหายไปเมื่อเราปิดเครื่องหรือ ไม่มีแหล่งจ่ายไฟเลื้ยงตัวอุปกรณ์ ข้อมูลที่บรรจุอยู่ด้านในก็จะหายไปด้วย ดังนั้นจึงมีคนนำเทคโนโลยี่มาต่อยอดและพัฒนามาเป็น Solid State Drive ในที่สุด

ข้อดี

SSD ไม่มีส่วนที่เคลื่อนไหวเหมือนกับ Harddisk Drive ทำให้ความเร็วในการอ่าน/เขียนข้อมูลนั้นทำได้ไวกว่า Harddisk Drive หลายเท่า SSD ยังมีน้ำหนักที่เบาใช้ไฟเลี้ยงที่ต่ำและไม่มีเสียงรบกวนเวลาทำงาน จึงเหมาะสมกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาเป็นอย่างมาก

ข้อเสีย

SSD นั้นยังถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่อยู่มาก จึงทำให้ราคาต่อความจุในการจัดเก็บข้อมูลนั้นยังคงสูงกว่า Harddisk Drive อยู่พอสมควร ยังมีข้อจำกัดในเรื่องการเขียนข้อมูลซ้ำ ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 100,000 ครั้ง ต่อชิพ Flash Memory 1 ตัว และหากเกิดความเสียหายของข้อมูลขึ้นจะไม่สามารถกู้ข้อมูลกลับมาได้


https://www.kodefix.com