การแฮกข้อมูล (Data Hacking)

การแฮกเกิดขึ้นเมื่อมีการโจรกรรมทางไซเบอร์ นักโจรกรรมเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของแต่ละคนโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อเจาะเข้าไปในคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์มือถือ หรือเครือข่ายที่ผู้ใช้งานใช้อยู่

 

วิธีการแฮกข้อมูลที่พบบ่อย

·     1.  มัลแวร์และแรนซัมแวร์  โดยมัลแวร์มักหลอกล่อให้ผู้ใช้งานติดตั้งซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้นักโจรกรรมเข้าถึงไฟล์และกิจกรรมบนคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ หรือเครือข่ายที่ผู้ใช้งานใช้อยู่ ในขณะที่แรนซัมแวร์จะทำการเข้ารหัสไฟล์หรืออุปกรณ์ของผู้ใช้งานไว้และทำการเรียกร้องเงินเพื่อการเพื่อ "ปลดล็อก" การเข้าถึงคอมพิวเตอร์หรือไฟล์ของคุณ

·      2. การใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนด้านความปลอดภัยของผู้ใช้งาน โดยจุดอ่อนอาจรวมถึง รหัสผ่านที่ใช้ซ้ำและเดาได้ง่าย ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสที่ล้าสมัย และการเชื่อมต่อ wifi และ bluetooth ที่ไม่ปลอดภัย

·      3.  การหลอกลวงการเปลี่ยนเส้นทางการชำระเงินของผู้ใช้งาน หากอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ของคุณถูกใช้ในรูปแบบธุรกิจ นักโจรกรรมจะปลอมตัวเป็นหนึ่งในช่องทางการใช้งานประจำ หรือช่องทางที่น่าเชื่อถือแหล่งใดแหล่งหนึ่งของผู้ใช้งาน โดยมักหลอกลวงว่ามีรายละเอียดทางการเงินและการธนาคารของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลง นักโจรกรรมจะให้หมายเลขบัญชีธนาคารหรือลิงค์ใหม่เพื่อกรอกและยืนยันรายละเอียด และขอให้ดำเนินการชำระเงินตามนั้น กลโกงนี้มักจะตรวจพบได้ก็ต่อเมื่อไม่เกิดธุรกรรมที่ตกลงกันหลังการโอนชำระเงินหรือมีข่าวจากช่องทางว่าไม่ได้เป็นผู้สร้างการหลอกลวงดังกล่าว

เมื่อนักโจรกรรมทำการแฮกคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์มือถือของผู้ใช้งาน พวกเขาจะสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เปลี่ยนรหัสผ่าน และจำกัดการเข้าถึงระบบของคุณ พวกเขาจะใช้ข้อมูลที่ได้รับเพื่อกระทำการฉ้อโกง เช่น การโจรกรรมข้อมูลประจำตัว หรืออาจเข้าถึงรายละเอียดเกี่ยวกับธนาคารและบัตรเครดิตของคุณได้โดยตรง

สัญญาณเตือนเครื่องถูกแฮกข้อมูลแล้ว

·       1. ผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ อีเมล โซเชียลมีเดีย และบัญชีออนไลน์อื่น ๆ ได้

·       2. ผู้ใช้งานสังเกตเห็นไอคอนใหม่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือความเร็วคอมพิวเตอร์ลดลงกว่าที่ควรจะเป็น

·       3. ไฟล์ในคอมพิวเตอร์ถูกย้ายหรือลบไปโดยไม่รู้ตัว

·       4. กล่องป๊อปอัพ (pop-up) เริ่มปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ป๊อปอัพอาจจะขึ้นข้อความยื่นข้อเสนอเพื่อช่วย 'แก้ไข' คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน หรือเพียงแค่มีปุ่มที่ระบุว่า 'ปิด'

·       5. อยู่ ๆ ก็มีการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) ผ่านการใช้งานโทรศัพท์ หรือค่าอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นมากโดยไม่มีสาเหตุที่ควรจะเป็น

·       6. เงินหายไปจากบัญชีธนาคารโดยไม่มีการโอนจากเจ้าของบัญชีหรือผู้ใช้งาน

·       7. ตรวจพบการย้ายหมายเลขโทรศัพท์มือถือโดยไม่ได้รับความยินยอม หลังจากที่สังเกตเห็นว่าโทรศัพท์แสดงสถานะ 'SOS เท่านั้น' ซึ่งปกติจะมีแถบต้อนรับปรากฏอยู่

การปกป้องอุปกรณ์จากการแฮกข้อมูล

·       1. รักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอด้วยการอัพเดทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและสปายแวร์ และเลือกไฟร์วอลล์ที่ดี แนะนำให้เลือกซื้อคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น

·      2. ใช้ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยในอุปกรณ์เพื่อตรวจสอบไวรัสหากคุณเริ่มรู้สึกว่าคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ของคุณถูกแฮกหรือมีความผิดปรกติโดยไม่ทราบสาเหตุ หากยังไม่สามารถเคลียร์ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง โปรดติดต่อผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสหรือผู้เชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์

·       3. รักษาความปลอดภัยเครือข่ายและอุปกรณ์ของคุณ หลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ hotspot หรือ wifi เพื่อเข้าถึงหรือให้ข้อมูลส่วนบุคคล

·       4. เลือกรหัสผ่านและ PIN ที่ผู้อื่นคาดเดาได้ยาก และอัพเดตเป็นประจำ อย่าบันทึกไว้ในโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ของคุณ

·       5. อย่าเปิดไฟล์แนบหรือคลิกลิงก์ในอีเมลหรือข้อความโซเชียลมีเดียที่คุณได้รับจากคนแปลกหน้า หากพบสถานการณ์ดังกล่าว ขอให้กดลบข้อความหรืออีเมลนั้นเสีย

·       6. ระวังการดาวน์โหลดฟรีสำหรับโปรแกรมเสียเงินหรืองานลิขสิทธิ์บางอย่าง และการเข้าถึงเว็บไซต์ เช่น เพลง เกม ภาพยนตร์ และเว็บไซต์สำหรับผู้ใหญ่ เช่น เว็บหนังโป๊หรือเว็บพนัน พวกเขาอาจติดตั้งโปรแกรมที่เป็นอันตรายโดยที่คุณไม่รู้ตัว

·       7. อย่าใช้ซอฟต์แวร์ที่กรอกแบบฟอร์มออนไลน์โดยอัตโนมัติ  โดยไม่มีการเข้ารหัสเพื่อปกป้องชั้นที่2 ก่อนทำการส่งข้อมูล

·       8. ตรวจสอบการเข้าถึงเว็บไซต์โดย url หรือลิงค์ที่มีรูปแบบการจัดเรียงผิดปรกติหรือไม่น่าเชื่อถือ

 

ต้องทำอย่างไรต่อไป ถ้ารู้สึกว่ากำลังถูกหลอกลวงจากสแกมเมอร์อยู่

หากผู้ใช้งานรู้สึกว่าได้ให้รายละเอียดบัญชี หนังสือเดินทาง หมายเลขไฟล์ภาษี ใบอนุญาต ข้อมูลทางสุขภาพ หรือรายละเอียดการระบุตัวตนอื่น ๆ แก่นักโจรกรรมไปทางใดทางหนึ่ง ให้รีบติดต่อธนาคาร สถาบันการเงิน หรือหน่วยงานที่น่าเกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น สถานีตำรวจ เพื่อแจ้งรายละเอียดความเสียหายและป้องกันข้อมูลที่เหลืออยู่หรือช่องทางที่นักโจรกรรมสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ในทันที รวมถึงกระจายข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นกับตัวเองไปให้ผู้อื่นหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทราบทันที เพื่อป้องกันความเสียหายที่มีความเชื่อมโยงจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว



https://www.kodefix.com