Widget Recent Post No.

header ads

บล็อกเชน( Blockchian)

 


ปกติแล้วการโอนเงินระหว่างประเทศที่มีสกุลเงินแตกต่างกัน เราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องทำธุรกรรมผ่านธนาคารตัวกลาง (Intermediary Bank) ซึ่งใช้เวลาดำเนินการค่อนข้างนาน เพื่อให้เกิดความถูกต้องและปลอดภัย แต่สำหรับในยุคดิจิทัล การโอนเงินระหว่างประเทศกำลังจะเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีและสะดวกขึ้น ด้วยเทคโนโลยี Blockchain นวัตกรรมที่เข้ามาตอบโจทย์คนยุคใหม่ในเรื่องความง่ายและรวดเร็วในการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์เพียงไม่กี่วินาที

 

บล็อกเชนคืออะไร

บล็อกเชน (Blockchain) คือ ระบบฐานข้อมูลประเภทหนึ่งที่มีการบันทึกข้อมูลไว้ในรูปแบบบล็อก จากนั้นจึงเชื่อมต่อโครงข่ายโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ถือเป็นบัญชีธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า Ledger โดยในแต่ละบล็อกจะประกอบด้วยหมายเลขธุรกรรม เมื่อมีการทำธุรกรรมบนบล็อกเชนทุกครั้ง ระบบจะทำการบันทึกรายการธุรกรรมนั้นเพิ่มเข้าไปใน Ledger ของผู้ที่อยู่ในการเชื่อมต่อของโครงข่าย

 

บล็อกเชนทำงานอย่างไร

ขั้นที่ เมื่อเกิดการทำธุรกรรมบนบล็อกเชนทุกครั้ง ระบบจะบันทึกข้อมูลในรูปของบล็อก โดยธุรกรรมเหล่านั้นแสดงการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ การบันทึกข้อมูลประกอบด้วยใคร ทำอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน จำนวนเท่าไหร่ และเงื่อนไขอื่นๆ

ขั้นที่ 2 ข้อมูลในบล็อกหนึ่งจะเชื่อมต่อกับอีกบล็อกหนึ่งในรูปแบบห่วงโซ่เมื่อเกิดการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์จากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งหรือเกิดการเปลี่ยนมือเจ้าของของสินทรัพย์นั้น เพื่อป้องกันบล็อกเหล่านั้นไม่ให้ถูกเปลี่ยนแปลงหรือโจมตีทางข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลบนบล็อกจะระบุช่วงเวลาและผลลัพธ์ของธุรกรรมอย่างชัดเจน

ขั้นที่ 3 การทำธุรกรรมจะถูกล็อกอยู่ในบล็อกด้วยกัน เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อมูลและอยู่บนนั้นตลอดไป รวมทั้งสร้างความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมบนบล็อกเชนให้ผู้ที่อยู๋ในโครงข่ายเดียวกัน

 

บล็อกเชนมีกี่ประเภท

การสร้างโครงข่ายของเทคโนโลยีบล็อกเชนมีหลายวิธีด้วยกัน โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1. Public Blockchain

คือ ระบบบล็อกเชนที่ทุกคนเข้าร่วมได้ ซึ่งบิตคอยน์จัดเป็นบล็อกเชนประเภทนี้ อาจมีข้อเสียเปรียบในแง่ของความเป็นส่วนตัวในการทำธุรกรรมและความปลอดภัยอาจน้อยกว่า

2. Private Blockchain

คือ ระบบบล็อกเชนที่มีหน่วยงานกำกับดูแล โดยจะอนุญาตว่าใครสามารถเข้าร่วมได้ รวมทั้งบริหารจัดการการทำธุรกรรมของ Ledger

3. Permissioned Blockchain

คือ ระบบบล็อกเชนที่มีการตั้งกฎหรือข้อบังคับว่าใครจะได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมได้และทำธุรกรรมใดได้บ้าง โดยผู้เข้าร่วมจำเป้นต้องได้รับคำเชิญในการเข้าร่วม

4. Consortium Blockchain

คือ ระบบบล็อกเชนที่มีหน่วยงานหลายหน่วยงานรับผิดชอบร่วมกันในการดำเนินกิจกรรมบางอย่างบนบล็อกเชน โดยจะตัดสินใจว่าใครจะส่งธุรกรรมต่างๆ และเข้าถึงข้อมูลได้

 

บล็อกเชนแตกต่างจากระบบเก็บข้อมูลอื่นอย่างไร

บล็อกเชนจัดเป็นระบบฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกันประเภทหนึ่ง แต่ต่างจากฐานข้อมูลทั่วไปตรงที่วิธีการเก็บข้อมูล นั่นก็เพราะบล็อกเชนเป็นระบบฐานข้อมูลแบบไร้ตัวกลาง กล่าวคือ สมาชิกที่อยู่ในการเชื่อมต่อของโครงข่ายจะมีส่วนร่วมในการดูแลจัดการที่เรียกว่า เทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ หรือ Distributed Ledger Technology (DLT) นี่เองที่ทำให้บล็อกเชนยังจัดเป็น DLT ประเภทหนึ่งด้วย



https://www.kodefix.com











แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น